คุณรู้จัก BLogger นี้อย่างไร

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของระบบกฏหมายไทย


ความเป็นมาของระบบกฎหมายของไทย ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก่อนกล่าวถึงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงขอท้าวความถึงที่มาเสียก่อน เดิมประเทศไทย ยึดถือคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์จากอินเดีย ซึ่งเป็นกฎหมายหรือกติกาของสังคมที่สืบกันมาแต่เดิมตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ อันครอบคลุมถึงขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีทั่วไปด้วย[1] คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์นี้ภายหลังไทยได้รับมา และยึดถือใช้เป็นกฎหมายสืบมา ในกรณีที่ในคัมภีร์มิได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ก็ทรงบัญญัติขึ้น นานเข้าก็เกิดปัญหา คือ บางบทบัญญัติล้าสมัย หรือ ขัดแย้งกันเอง ยากลำบากต่อการพิพากษา กระทั่งกลางศตวรรษที่19 อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ตลอดจนการจัดระเบียบทางสังคมแพร่ขยายเข้าสู่ประเทศแถบเอเชีย และระบบกฎหมายของชาติตะวันตกก็ได้เริ่มนำมาใช้ในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่5 (ภายใต้สภาวะจำยอม เพราะต้านทานกระแสจักรวรรดินิยมหรือลัทธิล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตกไม่ไหว) หลักกฎหมายและหลักปฏิบัติของประเทศอังกฤษถูกนำมาใช้ตัดสินคดีความ และถูกนำเข้าไปปลูกฝังการเรียนการสอนของโรงเรียนสอนกฎหมายในไทย ทำให้ทางปฏิบัติของศาลไทยต่างนำเอาหลักกฎหมายอังกฤษมาปรับใช้แก่ข้อพิพาทที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้กฎหมายไทยที่บัญญัติขึ้นแต่กาลเดิมด้อยคุณค่าลงไปมาก การแก้ไขปัญหาในช่วงนั้น ดำเนินวิธีจัดทำประมวลกฎหมายซึ่งเป็นระบบสากล เพื่อบั่นทอนอิทธิพลของกฎหมายอังกฤษในประเทศไทย ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่5 ได้เร่งจัดทำประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยขึ้น คือ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127 [2]ครั้นสมัยรัชกาลที่6 พระองค์ทรงตัดสินใจวางรากฐานให้เป็นรูปร่างของระบบกฎหมายไทยเสียที โดยจ้างนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสเป็นที่ปรึกษายกร่าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จนแล้วเสร็จ เพื่อเรียกร้องเอกสิทธิทางการศาลว่าด้วยสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืนจากต่างชาติ และไทยก็เริ่มระบบประมวลกฎหมายอย่างเป็นกิจจะลักษณะตราบแต่นั้นมา อย่างไรก็ตามหลักกฎหมายอังกฤษก็ยังฝังรากลึกอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลไทยอยู่ และกฎหมายอังกฤษบางส่วนได้กลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีของไทยไปการกล่าวบทนำนี้ เพื่อเน้นย้ำให้ผู้เรียนทราบถึงประวัติที่มาของระบบประมวลกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ว่าพื้นฐานดั้งเดิมไทยเรารับจากอินเดีย(คัมภีร์พระธรรมศาสตร์) จากนั้นเมื่อตะวันตกเริ่มแทรกแซงบทบาทของไทย เราก็รับระบบCommon lawของอังกฤษมาใช้ แต่ด้วยระบบดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะใช้กับสังคมไทย สมัยร.5จึงวางรากฐานเพื่อปฏิรูปวงการกฎหมายไทย โดยส่งคนไทยไปศึกษาวิชากฎหมายในต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาชาติ ในสมัยนี้ได้ร่างประมวลขึ้นในครั้งแรก และสมัย ร.6ก็ได้ยกร่างปพพ. ฉบับแรก(และถูกแก้ไขเรื่อยมา) และในปีพ.ศ.2500 ไทยก็จัดทำประมวลกฎหมายอาญาสำเร็จ +++เสริมความรู้+++ ประมวลกฎหมายคืออะไร? คือ การรวบรวมเอากฎหมายเรื่องใหญ่ ซึ่งเป็นหลักทั่วไปมารวมไว้ในที่เดียวกัน แล้วจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ ใช้คำซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กัน ท้าวความเนื้อหาถึงกันและกันทั้งฉบับ ถามว่า แล้วประมวลกฎหมาย ต่างจากพระราชบัญญัติอย่างไร ตอบ พรบ.จะเป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องราว อันเป็นบทยกเว้นไม่ใช้บททั่วไปหรือประมวลกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น